|
|
|
|
พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน โสนันโท)
(๒๔๑๘-๒๔๘๑)
วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดนครศรีอยุทธยา |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
ปาน สุทธาวงศ์ |
|
|
เกิด |
|
วันศุกร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ |
|
|
บ้านเกิด |
|
บ้านหมู่๕ ตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
|
|
บิดามารดา |
|
นายสะอาด และนางอิ่ม อาชีพทำนา |
|
|
พี่น้อง |
|
เป็นน้องสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง ๗ คน |
|
อุปสมบท |
|
ปี ๒๔๓๘ ที่วัดบางนมโค โดย หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า โสนันโท |
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
อุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อสุ่น ซึ่งเป็นพระที่แก่กล้าในทางคาถาอาคม การฝึกสมาธิจิต |
|
|
|
|
การฝึกปฏิบัติธรรมกรรมฐานทุกขั้นตอน การฝึกกสิณต่างๆ วิชาแพทย์แผนโบราณ การพิจารณาสมุนไพร การต้มและการรักษาด้วยรากไม้ใบยา การแก้ผู้ถูกกระทำทางไสยศาสตร์ และการปราบภูตผีปีศาจ จนหลวงพ่อปานได้ใช้วิชาช่วยชีวิตผู้ป่วย ให้หายจากความทุกข์ทรมานได้มากต่อมาก
นอกจากนั้นหลวงพ่อปานยังได้ไปเรียนปริยัติธรรมจากท่านอาจารย์จีน วัดเจ้าเจ็ดใน และหลวงพ่อเนียม วัดน้อย บางปลาม้าสุพรรณบุรีผู้มีฌานแก่กล้าได้รับวิชาอาคมอีกมากมาย ท่านเคยเข้ามาศึกษาหาความรู้ทางพระปริยัติธรรมเพิ่มเติมในกรุงเทพฯ ที่วัดสังเวชวิศยาราม และวัดสระเกศเป็นเวลา ๓ พรรษา จนเมื่อกลับไปยังวัดบางนมโค ปี ๒๔๔๔ ท่านก็กลายเป็นพระที่เทศนาได้อย่างไพเราะ มีเนื้อหาจับใจ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในหมู่ผู้คนจำนวนมาก
เมื่อหลวงปู่ล้าย เจ้าอาวาสวัดบางนมโค มรณภาพลง ชาวบ้านและพระภิกษุสงฆ์ ก็ได้พร้อมใจกันอาราธนาหลวงพ่อปานขึ้นเป็นเจ้าอาวาส แต่ท่านไม่รับ กลับแนะนำให้เชิญพระรูปอื่นเป็นแทน ส่วนท่านก็ยังคงเป็นพระลูกวัด ที่สร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นต่อไป จนกระทั้งปลายปี ๒๔๗๔ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระครูวิหารกิจจานุการ |
|
|
มรณภาพ |
|
วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ อายุ ๖๓ ปี |
|
|
ข้อมูลพิเศษ |
|
* ท่านมีปานแดงที่นิ้วก้อยมือซ้าย จึงได้ชื่อว่า ปาน |
|
|
|
ท่านมีวิชาทางจิตสูงถึงขึ้นทำนายวันเวลาแห่งการหมดอายุของท่านได้ล่วงหน้าถึงสามปีอย่างแม่นยำ ท่านมีพระภิกษุผู้เป็นศิษย์ที่คอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด คือพระมหาวีระถาวรโรหรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อุทัยธานี ในเวลาต่อมา |
|
|
ธรรมโอวาท : |
|
|
...เมื่อมีสภาพเป็นพระแล้ว อย่าหวังรวย ถ้ารวยแล้วไม่ใช่พระ พระจะต้องรวยด้วยศีลธรรม รวยด้วยบุญบารมี เงินทองที่ได้มา ให้ทำสาธารณประโยชน์ให้หมดอย่าให้เหลือ จะเหลือกินเหลือใช้บ้าง ก็ตามความจำเป็นเท่านั้น. ..
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|